2 ธ.ค. 2555

E-commerce

ตัวอย่าง E-commerce

1. http://www.sherasolution.com/   ออกแบบ ผลิตสินค้า ประเภท หลังคาเฌอร่า  ไม้เชิงชายเฌอร่า แป้นเกล็ดเฌอร่า  ไม้ระแนงตราเฌอร่า รุ่นนีโอ ซีรีย์  แผ่นฝ้าระบายอากาศเฌอร่าบอร์ด  ไม้ระแนงเฌอร่า  แผ่นฝ้าเฌอร่าบอร์ด เป็นเว็บไซต์ รูปแบบ B2B  B2C

2. หลังคาเฌอร่า  ไม้เชิงชายเฌอร่า แป้นเกล็ดเฌอร่า  ไม้ระแนงตราเฌอร่า รุ่นนีโอ ซีรีย์  แผ่นฝ้าระบายอากาศเฌอร่าบอร์ด  ไม้ระแนงเฌอร่า  แผ่นฝ้าเฌอร่าบอร์ด  กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ คือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง  ผู้ที่ต่อเติม ตกแต่งบ้าน คนรักบ้าน 

3 .บริกการของเว็บไซต์    ให้ความรู้เรื่องของคุณสมบัติทางเทคนิคของอุปกรณ์แต่ละชนิด วิธีติดตั้งอุปกรณ์ ตัวอย่าง การติดตั้ง สถานที่ต่างๆ มีศูนย์บริการติดต่อ รับปรึกษาปัญหาและออกแบบ  มีข่าวสารประชาสัมพันธ์ กิจกรรมเพื่อสังคม  มี บอร์ดเพื่อการติดต่อ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ที่กำลังมองหาวัสดุคุณภาพ



 

5 ต.ค. 2555

เรื่องที่ฉันประทับใจมากที่สุด


            สมัยเรียนอยู่ม.ปลายฉันกับเพื่อนๆ อีก 5 คนเราไปสร้างวีรกรรมมาที่หอแห่งหนึ่งใน จ.นราธิวาส (บ้านเกิดของดิฉันเอง)เรื่องมีอยู่ว่าเพื่อนๆ ในกลุ่มเกิดอยากจะทำอะไรแปลกๆก็เลยช่วงเล่นผีถ้วยแก้วอยากรู้ว่ามันเดินเองหรือใครพา เลยนักกันไปเล่นที่หอของเพื่อนอีกคนหนึ่ง ช่วงนั้นเวลาประมาณ 2 ทุ่มครึ่งพวกเรา 6 คนเดินเข้าไปในห้องที่เพื่อนๆลือว่ามีผีตอนนั้นบอกได้เลยเป็นคนกลัวผีมากแต่ต้องเล่น(เพื่อนท้าถ้าไม่เล่นเดี๋ยวจะเสียฟอมร์)พอย่างก้าวเข้าไปในห้องบอกได้เลยว่าขนมันลุกอ่ะ พอเข้าไปในห้องกันครบแล้วดิฉันเข้าไปคนสุดท้ายเพื่อนที่ก่อนหันมาบอกว่าให้ปิดปะตูด้วยดิฉันกำลังจะหันไปปิดปะตูแต่ก็ไม่ท้นแล้วประตูมันปิดเอง(ใจอยากร้องไห้มากเลย)แต่คิดได้ว่าเดี๋ยวถ้าบอกเพื่อนไปเพื่อนก็จะตื้นตะโหนดไปกันใหญ่เลยเก็บไว้คนเดี๋ยวไม่บอกใคร
            ได้เวลาเล่นผีถ้วยแก้วเพื่อนๆ ก็ต่างคนต่างถามนั้นนู้นี้ไปพักหนึ่งเวลาก็ผ่านไป 1 ชั่งโมงกว่าๆได้เวลาจะเลิกแล้วกำลังจะออกจะถ้วยที่เล่นอยู่นั้น เพื่อนอีกคนดั้นมีคำถามทิ้งท้ายว่า"ตอนนี้พี่อยู่ตรงไหนของห้อง"ทุกคนต่างก็มองหน้ากันเพราะถ้วยไม่เดินสักพักเพื่อนที่ถามคำถามนั้นหันไปเห็น ผู้ชายแก่ยืนอยู่ตรงหน้าเขา ซึ่งอยู่ข้างหลังเพื่อนอีกคนเข้าไม่รู้จะทำอย่างไรเข้าอึ้งมากกับสิ้งที่เขาเห็นเข้าเลยสะกิดเพื่อนที่นั้งอยู่ข้างๆเขาแล้วชี้ไปตรงหน้า บังเอิญเพื่อนคนนั้นเป็นคนกลัวผีมากกว่าใครๆและเป็นคนที่ถือเทียนเพื่อจะให้ห้องสว่าง พอเขาเห็นบอกได้คำเดี๋ยวว่าห้องทั้งห้องมืดไปหมด ก่อนที่จะมืดเพื่อนคนนั้นได้ทิ้งคำลงท้ายประโยดเดียวว่า "กูไม่อยู่แล้ว"พร้อมเป่าเทียนแล้ววิ่งออกจากห้อง(ทุกคนงงหมดเลย)เพื่อนๆคนอื่นๆก็วิ่งตามแล้วถามว่ามีอะไรหรอ เขาเลยเล่ามาหมดเลยว่าเห็นอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็แยกยายกันกลับบ้าน(ได้รู้ว่าเรื่องของผีถ้วยแก้วมันมีจริงแล้วร้จริงอีกด้วย)

6 พ.ค. 2555

ระบบคุณภาพ TQM


 
จุดกำเนิดและความเป็นมาของ TQM

        TQM ไม่ได้เกิดขึ้นมาในชั่วข้สมคืน หากแต่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเกี่ยวข้อง
กับประเทศมหาอำนาจสองประเทศ ไดแก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่แบ่งออกได้เป็น
3 ระยะ ดังนี้
 


คุณรู้จักคำว่า  TQM หรือยัง 
           TQM มาจากคำว่า TQC (Total Quality Control) ของญี่ปุ่น หรือบางทีญี่ปุ่นก็เรียกว่า “CWQC” (Company-Wide Quality Control) หรืออาจแปลว่าการควบคุมคุณภาพทั่วบริษัท”  (เรืองวิทย์,  2549) TQM ได้รับการนิยามว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์ และครอบคลุมทุกส่วนขององค์กรโดยให้ความสำคัญที่ลูกค้า” (จำลักษณ์ และศุภชัย,  2548)
                เมื่อกล่าวโดยสรุปโดยภาพรวมสำหรับความหมายของ TQM นั้น :Witcher(1390 อ้างถึงใน สุนทร,  2542) กล่าวว่า  
                T (Total) :การยินยอมให้ทุกคนปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริหารงานระบบคุณภาพซึ่งเกี่ยวกับทั้งลูกค้าภายนอก (external customer)  และลูกค้าภายใน
(internal customer) โดยตรง
                Q (Quality) : การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเป็นหลักนอกจากนี้คุณภาพยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic approach of management)กล่าวคือการกระทำสิ่งใดๆอย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่าPDCA cycle ซึ่งเสนอรายละเอียดโดย W.Edwards Deming
                เพราะฉะนั้นถ้าหมุนวงจรคุณภาพเช่นนี้อย่างต่อเนื่องขึ้นภายในแต่ละหน่วยงานย่อยขององค์การหนึ่งๆก็ย่อมจะเกิดระบบคุณภาพโดยรวมทั้งหมดที่เรียกว่า TQM ขึ้นมาได้ในประการสุดท้าย
                M (Management) :ระบบของการจัดการหรือบริหารคุณภาพขององค์การ ซึ่งดำเนินการและควบคุมด้วยระดับผู้บริหารสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) การประกาศพันธกิจหลัก (mission statement) และกลยุทธ์ของการบริหาร (strategic management) รวมถึงการแสดงสภาวะของความเป็นผู้นำ (leadership) ที่จะมุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาระบบคุณภาพขององค์การอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา (continuous quality improvement)

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM  
                1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
                2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
                3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง
                4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
                5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
                6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

หลักการสำคัญของ  TQM

TQM  มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ
                1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)
                ลูกค้า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายเดียวของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้าการให้ความสำคัญกับลูกค้าจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ลูกค้า จริงๆหรือที่เรียกว่า ลูกค้าภายนอก (External Customer) ที่ ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวคลอบคลุมไปถึงพนักงาน หรือหน่วยงานที่อยู่ถัดไปจากเราซึ่งรอรับผลงานหรือบริการจากเรา ที่เรียกว่า ลูกค้าภายใน (Internal Customer) โดยเราจะทำหน้าที่เป็น ผู้ที่ส่งมอบภายใน (Internal Supplier) ในการส่งมอบผลงานและสร้างความพอใจให้แก่พวกเขา ซึ่งจะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็น ห่วงโซ่คุณภาพ (Quality Chain)
                2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
                องค์การที่จะทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจ แก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะไม่มีโอกาสแม้จะดำรงอยู่ต่อไปในสังคมซึ่งเราสามารถดำเนินงานได้ดังนี้
                                2.1 ศึกษา วิเคราะห์และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ และต่อเนื่อง
                                2.2 พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง
                                2.3 ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติและไม่สร้างความสูญเสียจากการตรวจสอบ

                3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)
                ตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ จนถึงหัวหน้าคณะผู้บริหาร (Chief Executive Officers) หรือ CEOS ที่ ไม่ใช่เพียงปฏิบัติงานแบบขอไปทีเท่านั้นแต่ต้องมีความเข้าใจและยอมรับในการ สร้างคุณภาพสูงสุดให้เกิดขึ้น ไม่เฉพาะบุคคลในหน่วยงาน แต่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพของธุรกิจอย่างสอดคล้องและ ลงตัว โดยมองข้ามกำแพงหรือฝ่าย/แผนกที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนต้องปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกขององค์การคุณภาพเดียวกัน เพื่อให้สมาชิกสามารถทำงานให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น และถูกต้องเสมอ โดยอาจจะจัดตั้งทีมงานข้ามสายงาน (Cross Functional Team) เข้า มาร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงาน และพัฒนาคุณภาพของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงานจะเป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันธุรกิจไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ







TQM กับการศึกษา

                ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดังเช่นปัจจุบันได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายด้านทั้งการเมืองสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมฯลฯถึงระบบการศึกษาก็ไม่หลีกพ้นไปจากผลกระทบดังกล่าวและเท่าที่ปรากฏผลออกมาให้ เห็นเป็นรูปธรรม ก็คือ
                1.  พ่อแม่ผู้ปกครองล้วนสงสัยว่า ลูกหลานของตนที่ส่งเข้าเรียนหนังสือเพื่อหาความรู้
ตามสถาบันการศึกษาทุกระดับ (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย)จะสามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพประกอบด้วยความรู้อย่างแท้จริงขึ้นมาได้หรือไม่
2.  นักเรียนและนักศึกษาก็กริ่งเกรงใจเช่นเดียวกันว่า เมื่อจบการศึกษาในระดับต่าง ๆ
และ ออกไปสู่โลกภายนอกแล้ว ตัวเองจะมีคุณภาพและความสามารถเพียงพอ หรือไม่ต่อการไปสมัครเพื่อหางานทำในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
3.  ผู้ประกอบการทางธุรกิจและอุตสาหกรรม ก็จะถามไถ่อยู่เสมอในฐานะที่เป็นผู้จ้าง
งาน ว่าต้องการได้บัณฑิตที่จบออกมาประกอบด้วยคุณภาพของความรอบรู้ความเก่ง การขยันสู้งาน รวมถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมปรากฏอยู่ในระดับสูง
4.  สังคมก็คาดหวังอีกเช่นกันว่า เมื่อประชาชนอยู่ในฐานะผู้เสียภาษีได้แก่รัฐบาล
โดย ตรงจะมีวิธีการปฏิบัติเช่นใดจึงจะเข้ามามีบทบาท และแสดงส่วนร่วมในการจัดการด้านการศึกษาพร้อมทั้งสามารถตรวจสอบความโปร่งใส ด้านคุณภาพของบัณฑิตโดยตรง
รายละเอียดที่กล่าวมานี้ทั้งหมดไม่พ้นไปจากคำว่า คุณภาพ (Quality) ระบบของการจัดการแบบมีคุณภาพ(Quality Management System : QMS) หรือ ในด้านการศึกษาก็มีการเรียกร้องกันมากในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษา (quality assurance) เป็นต้น
นอก จากรายละเอียดหลายประเด็นที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ยังได้มีการกระตุ้นให้มีการคำนึงผลของการจัดการระบบการศึกษาโดยภาพรวม มากกว่าจะแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุแต่เพียงประการเดียว ลักษณะที่พบเห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ มีการกล่าวถึง ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management หรือ TQM) (สุนทร,  2542)
Sallis (2002) ได้กล่าวว่า  “TQM เป็นวิธีการปฏิบัติงานแต่ขณะเดียวกันก็เป็นแนวคิดเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ขององค์กร ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการจำเป็นของลูกค้าและผู้รับบริการ จุดหมายคือความเป็นเลิศในสิ่งที่ทำ TQMไม่ใช่คำขวัญแต่เป็นแนวทางในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบรอบคอบเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพในระดับที่ลูกค้าต้องการหรือมากกว่า อาจจะกล่าวว่า TQM เป็นปรัชญาในการพัฒนาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด แต่สำเร็จได้โดยบุคลากรหรือผ่านบุคลา



                                        

                       พื่อน-เพื่อนคงจะทราบ TQM แล้วน่ะค่

Animation